Cloudy With A Chance Of Sun
** ขอขอบคุณ ที่กรุณามาเข้าขมค่ะ **

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สทศ.เลิกแจกฟรี24คะแนน


สทศ.แถลง ยกเลิกแจกฟรี 24 คะแนน และไม่สอบใหม่โอเน็ต ม.6 วิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด แต่ตัดข้อมีปัญหา ตรวจแค่ 67 ข้อ แปลงเป็น 100 คะแนน พร้อมสอบใหม่เฉพาะผู้ที่มีปัญหา หรือจากเหตุมีความผิดพลาดอื่น ๆ ในวันที่ 6-7 มีนาคมนี้
 
ศ.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (บอร์ด สทศ.) รศ.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ร่วมแถลงภายหลังการประชุม บอร์ด สทศ. วานนี้ว่า ที่ประชุมเห็นชอบยกเลิกการให้คะแนนฟรี 24 คะแนนในวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ม.6 เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถเทียบมาตรฐานการทดสอบศึกษาได้ จึงให้หักข้อผิดจากชุด 200 ทั้ง 23 ข้อออก และคิดคะแนนเต็ม 100 คะแนน จาก 67 ข้อที่เหลือ โดย สทศ.พิจารณาแล้วว่าการกระจายของข้อสอบหลังหักข้อผิดในวิชา เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา และดาราศาตร์ สามารถวัดผลได้เท่าเทียบกับข้อสอบเดิมที่มี 90 ข้อ ส่วนกรณีความผิดพลาดอื่นๆ อาทิ การพิจารณาแก้ปัญหาตามดุลพินิจของแต่ละศูนย์สอบที่แตกต่างกัน ทาง สทศ.จะพิจารณาเป็นรายกรณี โดยให้ศูนย์สอบทั้ง 7 ศูนย์ที่มีความผิดพลาดของข้อสอบ ส่งเรื่องชี้แจงภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้
 
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม http://www.enn.co.th/6290

สทศ. จัดสอบ บีเน็ตครั้งแรก กระตุ้นคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม


UploadImage

นายสัมพันธ์  พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) พร้อมด้วยพระราชวรมุนี  รองเจ้าคณะภาค 6 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ลงตรวจเยี่ยมสนามสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ  ด้านพระพุทธศาสนา  หรือ บีเน็ต  ณ วิทยาลัยนาฏศิลป์ศาลายา  ซึ่งเป็น 1 ใน 12 สนามสอบทั่วประเทศที่จัดสอบให้แก่พระ ภิกษุ-สามเณร กว่า 12,000 รูป ซึ่งเป็นผู้เรียนตามหลักสูตรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในวิชาพุทธประวัติและธรรมวินัย วิชาศาสนปฏิบัติ และวิชาภาษาบาลี ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา  รวมถึงประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ ทั้งนี้ ทางสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จะนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง บีเน็ต และโอเน็ต มาเป็นเกณฑ์การประเมินคุณภาพของสถานศึกษาด้วย ซึ่งจะมีการประกาศผลการสอบในวันที่ 31 มีนาคม
 
สำหรับบีเน็ต เป็นการจัดสอบร่วมกันระหว่าง สทศ.และสำนักพระพุทธศาสนา เป็นครั้งแรก ทำให้โรงเรียนพระปริยัติธรรม มีส่วนร่วมในการทดสอบทางศึกษาระดับชาติ ส่งผลต่อการปรับปรุงการสอนและหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และกระตุ้น ให้เกิดการเรียนแผนกธรรมและแผนกบาลี  นอกเหนือจากแผนกสามัญศึกษา โดยจากที่ลงพื้นที่ตรวจสอบในวันนี้ ยังไม่พบการทุจริตใดๆ เกิดขึ้น


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://blog.eduzones.com/magazine/104051

วิสาหกิจชุมชน


วิสาหกิจชุมชน (community enterprise) หมายถึง กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชนความหมายของวิสาหกิจชุมชนโดยสรุป คือ การประกอบการเพื่อการจัดการ "ทุนของชุมชน" อย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งตนเอง"ทุนของชุมชน" ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่เป็นน้องไว้ใจกัน)

                ลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน  มีองค์ประกอบอย่างน้อย 7 ประการ

  1. ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ

2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุนแรงงานในชุมชน เป็นหลัก

3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน

4. เป็นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานภูมิปัญญาสากล

6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจ 
5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
7. มีการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หมายถึง คณะบุคคลที่รวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน ของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย


ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชน


สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที http://www.sceb.doae.go.th/Ssceb2.htm

รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ


ระบบ เศรษฐกิจของประเทศต่างๆในโลกจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครอง ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนแนวคิดในการบริหารเศรษฐกิจของผู้บริหารในแต่ละประเทศ ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระบบใหญ่ๆดังนี้


ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม (Laissez-Faire or Capitalism)
ระบบ เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนใน การเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เศรษฐทรัพย์ต่างๆที่ตนหามาได้ มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่างๆ แต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย กล่าวคือ การดำเนินการใดๆจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น ใช้ระบบของการแข่งขันโดยมีราคาและระบบตลาดเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะมีหน้าที่เพียงการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและการป้องกันประเทศ 


ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
ระบบ เศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบ เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจว่า ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ควรจะนำมาผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจ มักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับจากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการ ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยสรุประบบเศรษฐกิจแบบนี้จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่าง ไว้ที่ส่วนกลาง รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนแต่เพียงผู้เดียว เอกชนมีหน้าที่เพียงแต่ทำตามคำสั่งของทางการ เท่านั้น  


ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)
ระบบ เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกับระบบเศรษฐกิจ แบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรการผลิตพื้นฐาน ไว้เกือบทั้งหมด และเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐาน กิจการหลักที่มี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ เช่น ธุรกิจธนาคาร อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ป่าไม้ น้ำมัน กิจการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่างๆ ฯลฯ รัฐจะเป็นผู้เข้ามาดำเนินการเอง อย่างไรก็ตาม รัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน เช่น สามารถทำธุรกิจค้าขายขนาดย่อมระหว่างท้องถิ่นใกล้เคียง สามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน เพื่อการยังชีพ โดยสรุป ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยกลไกรัฐเป็นกลไกสำคัญใน การจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ แต่ทว่ากลไกราคาพอจะมีบทบาทอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้ 


ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
ระบบ เศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา พื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนที่เป็นแบบทุนนิยม คือ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่าง มีเสรีภาพในการเลือกผลิตหรือบริโภค ใช้ระบบของการแข่งขัน กลไกราคาเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ส่วนที่เป็นแบบสังคมนิยม คือ รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือเข้ามาดำเนินกิจการที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องมีการลงทุนมากเพราะหาเอกชนลงทุนได้ยาก เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้อง เสี่ยงกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มกับการลงทุน แต่กิจการเหล่านี้จำเป็นต้องมีเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขนส่ง และคมนาคม เหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินการในกิจการดังกล่าวก็เพื่อขจัดปัญหาในเรื่องการ ผูกขาดหรือเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้เอกชนทำการแข่งขัน โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบผสมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้ทั้งระบบกลไก ราคา หรือระบบตลาดควบคู่ไปกับระบบกลไกรัฐในการจัดสรรทรัพยากร 


ขอขอบคุณข้อมูลโดนคุณ tonoy
 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://blog.eduzones.com




ภาวะโลกร้อน

  

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่ เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูง





อ่านข้อมูลเพิ่มเติมไ้ด้ที่http://www.greentheearth.info/

ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว แบ่งเป็น 8 ประเภท วาตภัย | อุทกภัย | ทุกขภิกขภัย | พายุฝนฟ้าคะนอง | คลื่นพายุซัดฝั่ง | แผ่นดินไหว | แผ่นดินถล่ม | ไฟป่า








 สามารอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmmet.com

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ศาสนาต่างๆในโลก






ศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธเป็นปรัญชาที่ก่อกำเนิดขึ้นในอินเดีย ปรัญชานั้นคือวิธีที่ช่วยให้เข้าใจโลกทำให้โลกมีความหมายสำหรับเรา

ธรรมจักร (วงล้อ) มีกรงล้อ 8 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคำสอนแห่งศาสนาพุทธ




ศาสนาฮินดู

อินเดีย เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดหลายศาสนา หนึ่งในหลายศาสนาที่เกิดก็คือศาสนาฮินดู สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดูคือโอม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพรหม








ศาสนาอิสลาม

อิสลามเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่สำคัญ เริ่มจ้นในตะวันออกกลาง เมื่อ 600 ปี หลังจากการประสูติของพระเยซู

ประชาชน ในดินแดนทะเลทรายที่ร้อนระอุนั้น ดวงดาวเป็นเครื่องนำทางของพวกเขา แสงจันทร์ให้ความสว่างแก่การเดินทาง ศาสนาอิสลามนำทางและให้ความสว่างในการเดินทางชีวิตของผู้ที่ศรัทธาในศาสนา นี้







สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาอื่นๆได้ที่ http://www.nongmaiclub.com/blog/index.php?id=tommy&page=showblog&idg=1&idt=74